โรคหัวใจวาย

หัวใจวาย

ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจทำงานล้มเหลว ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจน

ถ้าเกิดที่ไต…. จะทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาต่อก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือ

ถ้าเกิดที่ปอด…. ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)

“สัญญาณเตือนโรคหัวใจวาย”

  • แน่นหน้าอก จะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมาก จนทนไม่ได้เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย
  • หายใจหอบ เหนื่อย จะเหนื่อยหอบ หายใจเร็วขณะออกแรง หรือบางทีอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกเหนื่อยหอบ ถ้าเป็นหนักอาจถึงขนาดนอนราบกับพื้นไม่ได้
  • เหงื่อแตก ใจสั่น
  • หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น (Heart Arrest)

การรักษา

การรักษาโรคหัวใจจะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบและรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น เช่น การผ่าตัดหัวใจ การทำหัตถการสวนหัวใจ ร่วมกับการใช้ยารักษา รวมถึงการให้คำแนะนำในการ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคหัวใจวาย

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพ หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เครียด งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัดรักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต โรคเบาหวานไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจการรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไทรอยด์เป็นพิษ

การวินิจฉัย

  • การซักประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย เช่น ประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และนิสัยการออกกำลังกาย ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของตนเองและของบุคคลภายในครอบครัว
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG or ECG) เป็นการตรวจรูปแบบของจังหวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) การทดสอบนี้ใช้วัดค่าการตอบสนองของหัวใจต่อความเครียดทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในร่างกาย จำนวนของเลือดที่ไหลไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจที่ตอบสนองต่อการออกกำลังกาย
  • การตรวจหาระดับเอนไซม์ในเลือด (Blood enzyme tests) จะแสดงให้เห็นถึงระดับเอนไซม์ที่เพิ่มขึ้นหากมีภาวะหัวใจวาย หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อจับภาพเคลื่อนไหวของหัวใจ เพื่อวัดและระบุถึงการทำงานและโครงสร้างของหัวใจ
  • การตรวจในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและขยายหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Laboratory)
  • การตรวจหัวใจและหลอดเลือดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (64 Slice Multidetector CT for Heart and Coronary Vessel Disease Diagnosis)
  • การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ เป็นการตรวจเอ็กซเรย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสอดสายยางขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดที่ขาหนีบ หรือแขน และสอดไปตามเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจ สารมีสีชนิดพิเศษจะถูกฉีดผ่านสายยางนี้ เส้นเลือดในบริเวณที่มีภาวะตีบหรืออุดตันก็จะสามารถตรวจพบจากจอภาพเอ็กซเรย์

อาหารป้องกันโรคหัวใจ


นพ.วีรพันธ์ วิวัฒน์วรพันธ์
เฉพาะทาง : อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ความชำนาญพิเศษ : สรีระไฟฟ้าหัวใจ

ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์หัวใจ เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันพฤหัสบดี  เวลา 08.00-19.00 .
  • วันศุกร์   เวลา  08.00-17.00 .
  • วันเสาร์  เวลา  08.00-15.00 .
  • วันอาทิตย์  เวลา 08.00-16.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์หัวใจ ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา